ลงทะเบียนเพื่อใช้งาน AllstarLink

Digital Ham Radio
4 min readJul 12, 2021

สำหรับบทความนี้จะเป็นแนวทางในการลงทะเบียนเพื่อขอเปิดใช้งาน AllstarLink Node ซึ่งขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก ถ้ายังไม่ได้ทำสถานี Node ก็ไม่จำเป็นต้องรีบลงทะเบียนนะครับ ดูไว้เป็นแนวทางก่อนได้

เริ่มลงทะเบียน

ขั้นแรกให้เข้าสู่เว็บไซต์ www.allstarlink.org และให้คลิ๊กที่ Login/Sign Up เพื่อเริ่มลงทะเบียน

ภาพตัวอย่างหน้าเว็บ www.allstarling.org

หลังจากที่คลิ๊กที่ Login/Sign Up แล้วจะมีหน้าต่าง Login เข้าระบบขึ้นมาให้คลิ๊กต่อที่ Sign Up เพื่อลงทะเบียน

ภาพตัวอย่างหน้าต่าง Login เข้าสู่ระบบ

หลังจากคลิ๊กที่ Sign Up แล้วระบบก็จะไปยังหน้าเริ่มลงทะเบียน ซึ่งจะมีคำอธิบายคร่าว ๆ ให้อ่านก่อน ให้คลิ๊กต่อที่ Begin Registration เพื่อเริ่มขั้นตอน

ภาพตัวอย่างหน้าเว็บเริ่มขั้นตอนการลงทะเบียน

หลังจากที่คลิ๊กที่ Begin Registration แล้วก็จะเป็นหน้าเว็บให้กรอกข้อมูลรายละเอียดของเราก็ใส่ตามภาพตัวอย่างครับ ส่วนช่อง State เนื่องจากเราอยู่ประเทศไทยก็ระบุเป็น — Non US — ครับและก็อย่าลืมคลิ๊กที่ I’m not a robot และก็คลิ๊ก Submit เพื่อส่งข้อมูล

ภาพตัวอย่างหน้าเว็บกรอกรายละเอียดที่จะลงทะเบียน

หลังจากคลิ๊ก Submit เพื่อส่งข้อมูลแล้ว หน้าเว็บจะแจ้งว่าเราได้ทำการลงทะเบียนแล้วและให้เราไปยืนยัน e-mail ที่ลงทะเบียนไปอีกครั้ง ก็ให้เราเข้าเช็ค e-mail และกดยืนยัน e-mail

ภาพตัวอย่างหลังจากคลิ๊กส่งข้อมูลการลงทะเบียน

ใน e-mail เราจะได้รับ Link สำหรับยืนยัน e-mail ให้ทำการคลิ๊ก Link เพื่อยืนยัน

ภาพตัวอย่าง e-mail ที่ถูกส่งมาเพื่อยืนยันการลงทะเบียน

หลังจากคลิ๊ก Link ยืนยันการลงทะเบียนแล้วหน้าเว็บของ AllstarLink จะมีข้อความขอบคุณที่ยืนยันการลงทะเบียน และแจ้งว่าให้รอการตรวจสอบและจะมี e-mail แจ้ง กลับกลับภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งจากนี้เราต้องรอ e-mail ตอบกลับก่อนจึงจะดำนเนินการขั้นต่อไปได้

ภาพตัวอย่างหลังจากคลิ๊ก Link ยืนยันการลงทะเบียน

ผมได้รับ e-mail ตอบกลับภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยมีข้อความคร่าว ๆ ดังภาพตัวอย่าง

ภาพตัวอย่าง e-mail ตอบรับเข้าสู่ระบบ AllstarLink

จากนี้เราสามารถ Login เข้าสู่ระบบ AllstarLink เพื่อไปจัดการ Node ของเราได้แล้ว ให้คลิ๊กที่ Login/Sign Up ที่หน้าเว็บของ AllstarLink แล้วใส่ Callsign และรหัสผ่านที่ได้สร้างไว้ในขั้นตอนของการสมัครครับ แล้วคลิ๊กที่ Login

ภาพตัวอย่างหน้าเว็บเพื่อ Login เข้าสู่ระบบของ AllstarLink

ถ้าสัญญาณเรียกขานและรหัสผ่านที่ระบุไปถูกต้องหน้าเว็บจะแสดงผลเป็นสัญญาณเรียกขานของเราที่ด้านบน ซึ่งที่เมนูนี้เราจะสามารถแก้ไขข้อมูลลงทะเบียนของเราได้

ภาพตัวอย่างหลังจากการ Login สำเร็จ

หลังจากการลงทะเบียนของเราสมบูรณ์แล้วเราจะสร้าง AllstarLink Node ได้เราจะต้องมีการตั้งค่า Server เสียก่อน โดยเข้าที่เมนู Portal -> Server Settings

ภาพตัวอย่างเมนูเพื่อตั้งค่า Server

คลิ๊กต่อที่ปุ่ม Proceed with Server Setup

ภาพตัวอย่างหลังจากคลิ๊ก Server Settings

จากนั้นจะเป็นหน้าเว็บที่ให้เราระบุข้อมูลต่าง ๆ ของ Server เรา ก็ระบุข้อมูลที่จะเป็นเข้าไปรวมถึงพิกัดตำแหน่งที่ตั้งของ Server ส่วนข้อมูล Site และ Affiliation(สังกัด) อาจจะไม่ต้องระบุก็ได้ ดูตัวอย่างจากภาพด้านล่าง เสร็จแล้วคลิ๊กที่ Submit เพื่อส่งข้อมูลการตั้งค่า

ภาพตัวอย่างการตั้งค่า Server ของเรา

หลังจากคลิ๊ก Submit แล้วระบบจะเปลี่ยนเป็นหน้าของรายละเอียด Server ของเรา ซึ่งโดยปกติเราคงใช้แค่ 1 Server แต่เราสามารถสร้างได้มากกว่า 1 Server โดยการคลิ๊กเพิ่มที่ Add a new server หรือ จะแก้ไข Server เดิมก็คลิ๊กที่ชื่อ Server

ภาพตัวอย่างหลังจากเพิ่ม Server เข้ามาในระบบ

ขั้นตอนต่อไปเป็นการสร้าง AllstarLink Node ให้เข้าที่เมนู Portal -> Node Settings

ภาพตัวอย่างเมนูตั้งค่า Node Settings

ในระบบของ AllstarLink จะอนุญาตให้เรามีโหนดหลักได้ไม่เกิน 2โหนด ถ้าต้องการมากกว่านี้ให้ใช้วิธีการตั้งค่าโหนดรองแทน ซึ่งจะเพิ่มเลขโหนดอีก 1 หลัก และจะได้เป็นโหนดรองจำนวน 10 โหนด ในหน้าเว็บจะแจ้งว่าให้เราคลิ๊กที่ Continue… เพื่อทำการขอหมายเลขโหนดจาก AllstarLink หรือขยายหมายเลขโหนดให้เป็น 10 โหนด และลบหมายเลขโหนดที่ไม่ต้องการ ก็ให้คลิ๊กที่ Continue…

ภาพตัวอย่างหน้าเว็บเริ่มการสร้างโหนด

หลังจากคลิ๊ก Continue… แล้วหน้าเว็บจะไปยังหน้าต่อไปซึ่งในหน้าเว็บนี้เราสามารถเลือกได้ว่าหมายเลขโหนดที่จะขอนี้จะให้อยู่ที่ Server ไหนของเรา ซึ่งถ้าเรามี Server อยู่หลายที่ เราสามารถแยกโหนดได้ว่าจะอยู่ Server ไหนซึ่งข้อมูลก็จะสัมพันธ์กับการตั้งค่าที่เราระบุไว้ในข้อมูล Server นอกจากนี้ด้านบนของหน้าเว็บจะมีเมนูย่อยเพื่อขยายโหนด / ขอเพิ่มโหนด / ลบโหนด แต่ในขั้นตอนนี้จะอยู่ที่ Request หรือขอเพิ่มโหนด ให้คลิ๊กที่ Submit เพื่อทำการขอเพิ่มโหนดจาก AllstarLink

ภาพตัวอย่างหน้าเว็บการขอเพิ่มโหนดจาก AllstarLink

หลังจากคลิ๊กที่ Submit แล้วเราก็จะได้หมายเลขโหนดที่พร้อมใช้งานมา ผมลองขอเพิ่มไปอีก 1 โหนดผลปรากฏว่าโหนดที่ 2 นี้จะต้องรอการอนุมัติจาก AllstarLink ก่อน ถ้าใครเพิ่งเริ่มก็แนะนะขอแค่โหนดเดียวก่อนจะสะดวกกว่านะครับ

ภาพตัวอย่างหมายเลขโหนด AllstarLink ที่เราได้รับ

โหนดแต่ละโหนดของเราจะมีรหัสผ่านอยู่ เราสามารถดูรหัสผ่านได้โดยการเอา Mouse เลื่อนไปวางตรงช่อง Password ที่ว่างอยู่ของแต่ละโหนด ระบบก็จะแสดง
รหัสผ่านขึ้นมา

ภาพแสดงตัวอย่างรหัสผ่านของโหนด AllstarLink

รหัสผ่านนี้เราจะต้องนำไปใช้ในการตั้งค่าในโปรแกรม AllstarLink ซึ่งปกติระบบจะสุ่มมาให้เรา เราสามารถเข้าไปแก้ไขและเพิ่มข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยคลิ๊กที่หมายเลขโหนด

ภาพตัวอย่างการตั้งค่าเพิ่มเติมของโหนด AllstarLink

รหัสผ่านมีความยาว 6–15 ตัวอักษรเปลี่ยนได้ตามสะดวก และอาจจะเพิ่มข้อมูลความถี่และ CTCSS Tone ไว้เป็นข้อมูลในหน้าเว็บด้วยก็ได้ เสร็จแล้วคลิ๊กที่ Submit หลังจากที่คลิ๊กที่ Submit ระบบก็จะแสดงข้อความยืนยันการแก้ไขอีกครั้งและสามารถกลับไปดูข้อมูลโหนดได้จาก nodes list

ภาพตัวอย่างยืนยันการแก้ไขข้อมูลโหนด

มาถึงตอนนี้โหนด AllstarLink ของเราก็จะขึ้นโชว์อยู่ในฐานข้อมูลของ AllstarLink แล้ว สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่เมนู Lists & Stats -> AllStar Node List

ภาพตัวอย่างเมนู AllStar Node List

ในหน้าเว็บ AllStar Link Node List จะมีข้อมูลโหนดทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบของ AllstarLink ซึ่งเราสามารถกรองให้แสดงเฉพาะโหนดของเราได้โดยใส่สัญญาณเรียกขาน, หมายเลข หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เราระบุไว้ก็ได้ จากตัวอย่างผมระบุเป็น chantaburi ระบบก็จะกรองข้อมูลเฉพาะที่มีคำว่า chantaburi และถ้าโหนดไหนออนไลน์อยู่ในระบบจริงก็จะมีแถบสีเขียวล้อมรอบ

ภาพตัวอย่างหน้าเว็บ AllStar Link Node List

สำหรับโหนดที่มีสถานะออนไลน์เราสามารถคลิ๊กที่หมายเลขโหนดเพื่อดูข้อมูลการเชื่อมต่อได้ด้วย ซึ่งหลังจากคลิ๊กแล้วยังสามารถดูข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมได้อีก เช่นแผนผังการเชื่อมต่อ หรือ ข้อมูลของโหนดต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อเข้ามา จากในภาพตัวอย่างด้านล่าง หมายเลขโหนด 1999 เป็นหมายเลขโหนดภายในที่สร้างขึ้นมาเพื่อเชื่อมเข้าระบบดิจิตอล DMR จึงไม่สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้

ภาพตัวอย่างข้อมูลของโหนด 515410
ภาพตัวอย่างแผนผังการเชื่อมต่อของโหนด 515410
ภาพตัวอย่างโหนด 53620 จะมีข้อมูลของโหนด 515410 ที่เชื่อมต่อกันด้วย

มาถึงตรงนี้หลาย ๆ ท่านคงเข้าใจถึงขั้นตอนการสมัครเพื่อใช้งานระบบ AllstarLink กันแล้ว และก็คงรับรู้ถึงความน่าใช้งานของระบบได้ ในบทความต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนของการติดตั้งโปรแกรม AllstarLink ลงบนอุปกรณ์ Raspberry pi โดยเชื่อต่อผ่าน Interface ที่ชื่อว่า RIM-Alinco ไปยังเครื่องวิทยุสื่อสาร Alinco DR-135EZ-1 ซึ่งต้องบอกว่าไม่ง่ายและก็ไม่ยากจนเกินไป หากท่านใดมีข้อความสอบถามเพิ่มเติมหรือพบจุดบกพร่องของบทความสามารถแจ้งโดยตรงได้ที่ผม HS2BMI โดยการเพิ่มเพื่อนทาง LINE ID : aisfttx และฝากเพื่อน ๆ ที่สนใจในระบบดิจิตอลโหมดเข้าร่วมกลุ่ม LINE Openchat ของ XLX822 ด้วยครับ

QR Code Line Openchat XLX822

--

--