ติดตั้ง Allmon2 และ Supermon ให้ AllStar Link Node

Digital Ham Radio
5 min readJul 15, 2021

หลังจากที่เราได้ติดตั้งโปรแกรม AllStar Link เพื่อทำโหนด AllStar กันเรียบร้อยแล้วขั้นต่อไปก็จะติดตั้ง Allmon2 และ Supermon ซึ่งเป็นเครื่องมือให้เราดูข้อมูลโหนด ของเราผ่านทางหน้าเว็บไซต์ซึ่งติดตั้งอยู่ในตัว Raspberry Pi จริง ๆ แล้วทั้ง Allmon2 และ Supermon นั้นมีโปรแกรมติดตั้งมาแล้ว เหลือแต่การตั้งค่าเพื่อให้ Login เข้าไปใช้งานได้

ทดสอบเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์

เราสามารถทดสอบเรียกใช้งานหน้าเว็บไซต์ Allmon2 และ Supermon ได้ง่าย ๆ โดยระบุหมายเลข IP Address ของ Raspberry Pi แล้วตามด้วย allmon2 หรือ supermon ตัวอย่างเช่นหมายเลข IP ของ AllStar Link ของผมเป็น 192.168.77.92 ผมก็จะต้องพิมพ์
http://192.168.77.92/allmon2 สำหรับ Allmon2 หรือ
http://192.168.77.91/supermon สำหรับ Supermon

ภาพตัวอย่างการเปิดหน้าเว็บ Allmon2 ก่อนการตั้งค่า

ถ้าทดลองเปิดหน้า Allmon2 แล้วไม่ขึ้นภาพตามตัวอย่าง น่าจะเกิดจากเป็น bug ของ Image ไม่มีไฟล์ allmon.ini.php มาให้ จึงแสดงหน้าเว็บมีความผิดพลาด

ภาพตัวอย่างหน้าเว็บที่แจ้งไม่พบข้อมูลไฟล์ allmon.ini.php

ให้ทำการดาวน์โหลดไฟล์ allmon.ini.php จาก Server ของ allstar.xlx822.com โดยสามารถ copy code ด้านล่างไปว่างในโปรแกรม putty ได้เลย โดยการคลิ๊กขวาในโปรแกรม putty ทั้งนี้เราจะต้องทำการ copy code ของการดาวน์โหลดไว้แล้ว

sudo wget https://allstar.xlx822.com/allmon.ini.example -O /var/www/html/allmon2/allmon.ini.php--- สองบรรทัดด้านบนเป็นบรรทัดเดียวกัน ---
ภาพตัวอย่างการใช้คำสั่งดาวน์โหลดไฟล์ allmon.ini.php

หลังจากดาวน์โหลดสำเร็จแล้ว ให้ลองเปิดหน้าเว็บของ Allmon2 อีกครั้ง จะเห็นว่าหน้าเว็บเปลี่ยนไปและมีหมายเลขโหนดเป็น 00000 ซึ่งเป็นหมายเลขของไฟล์ตัวอย่างที่ผมทำไว้

ภาพตัวอย่างหมายเลขโหนดจะเป็น 00000
ภาพตัวอย่างหน้าเว็บ Supermon ก่อนการตั้งค่า

เริ่มตั้งค่า Allmon2

ให้รีโมทเข้า AllStar ของเราและใช้คำสั่งย้าย Directory ไปที่ /etc/asterisk
และใช้คำสั่งเพื่อแก้ไขไฟล์ manager.conf เพื่อไปกำหนดรหัสผ่านของ Asterisk

cd /etc/asterisk
sudo nano manager.conf
ภาพตัวอย่างการใช้คำสั่งเพื่อแก้ไขไฟล์ /etc/asterisk/manager.conf

กำหนดรหัสผ่านที่บรรทัด secret = รหัสผ่านที่ต้องการ
หลังจากระบุรหัสผ่านแล้วบันทึกการแก้ไขโดยกดปุ่ม Ctrl+O แล้วกด Enter และกดปุ่ม Ctrl+X เพื่อจบการแก้ไข

ภาพตัวอย่างการกำหนดรหัสผ่านในไฟล์ /etc/asterisk/manager.conf

ต่อจากนั้นเปลี่ยน Directory การทำงานไปยัง /var/www/html/allmon2

cd /var/www/html/allmon2
ภาพตัวอย่างการใช้คำสั่งเปลี่ยน Directory ไปที่ /var/www/html/allmon2

ใช้คำสั่งเพื่อแก้ไขไฟล์ allmon.ini.php

หมายเหตุ ในบทความบางจุดใช้คำสั่ง pico บางจุดใช้คำสั่ง nano ซึ่งเป็นคำสั่งแก้ไขไฟล์ในระบบ Linux ซึ่งทั้ง pico และ nano สามารถใช้ได้เหมือนกัน

sudo nano allmon.ini.php
ภาพตัวอย่างการใช้คำสั่งเพื่อแก้ไขไฟล์ allmon.ini.php

กำหนดหมายเลขโหนดของเราและกำหนดรหัสผ่านของ Allmon2 ที่บรรทัด password=รหัสผ่านของเราที่กำหนดไว้ในไฟล์ /etc/asterisk/manager.conf

ภาพตัวอย่างการกำหนดหมายเลขโหนดและรหัสผ่านที่ต้องการ

บันทึกค่าและออกจากการแก้ไข ทำการสร้างรหัสผ่านให้กับระบบอีกครั้งด้วยคำสั่ง

sudo htpasswd -cB .htpasswd admin

ระบุรหัสผ่านให้เหมือนกับในไฟล์ allmon.ini.php ที่ได้กำหนดไปแล้ว

ข้อควรระวัง!!!

การใส่ระหัสผ่านสำหรับระบบ Linux จะไม่มีข้อความหรือสัญญลักษณ์อะไรแสดงที่หน้าจอเพราะฉะนั้นเราจะต้องระมัดระวังในการใส่ให้ถูกต้อง หากใส่ผิดไม่สามารถที่จะใช้ Del หรือ Back Space ลบข้อมูลได้ ให้ใช้ Ctrl+U แล้วใส่รหัสใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น

ภาพการกำหนดรหัสผ่าน admin ให้กับ Server

ทดลองเปิดหน้าเว็บและคลิ๊กที่ Login เพื่อเข้าใช้ระบบ

ภาพตัวอย่างการเข้าหน้า Login ของ Allmon2

ให้ระบุ Username : admin และรหัสผ่านที่เรากำหนดไว้แล้วคลิ๊กที่ OK
หมายเหตุ เว็บบางตัว Enter แล้ว Login ไม่เข้าเพราะฉะนั้นแนะนำให้คลิ๊กที่ OK เพื่อเข้าระบบครับ

ถ้าหากเข้าระบบได้ปุ่ม Login จะเปลี่ยนเป็นปุ่ม Logout ให้ลองคลิ๊กที่ปุ่มหมายเลขโหนดจะมีข้อมูลของโหนดแสดงขึ้นมา จากตัวอย่างด้านล่างจะแสดงคำว่า
51546 — Node not in database

ภาพตัวอย่างหน้าเว็บ Allmon2 แสดงข้อความ Node no in database

เป็นเพราะตัว Raspberry Pi ยังไม่มีข้อมูลของโหนดหมายเลข 51546 ต้องใช้คำสั่ง astdb.php เพื่อโหลดข้อมูลของโหนดต่าง ๆ ลงมาไว้ใน Raspberry Pi

ก่อนอื่นต้องเปลี่ยนประเภทของไฟล์ astdb.php ให้เป็นบบ run ได้ก่อนโดยใช้คำสั่ง

sudo chmod 777 astdb.php โดยจะต้องอยู่ที่ /var/www/html/allmon2 หรือ
sudo chmod 777 /var/www/html/allmon2/astdb.php
ภาพตัวอย่างการใช้คำสั่งเปลี่ยนโหมดไฟล์ astdb.php

จากนั้นให้ทดสอบใช้คำสั่ง ./astdb.php ที่ command line (ต้องอยู่ที่ /var/www/html/allmon2/) หรือ /var/www/html/allmon2/astdb.php

./astdb.php โดยจะต้องอยู่ที่ /var/www/html/allmon2 หรือ
/var/www/html/allmon2/astdb.php
ภาพตัวอย่างการใช้คำสั่ง astdb.php เพื่อดาวน์โหลดข้อมูล AllStar Node ทั้งหมด

หลังจากใช้คำสั่งและสถานะเป็น Success แล้ว ให้ทดลองโหลดหน้าเว็บใหม่อีกครั้ง

ภาพตัวอย่างหลังจากมีข้อมูลของโหนดอยู่ในระบบแล้ว

ทดสอบสั่งเชื่อมต่อโหนดผ่าน Allmon2

ทดสอบสั่งเชื่อมต่อไปยังโหนด 55087 ซึ่งเป็นโหนดที่อยู่บนระบบ Cloud เปิดไว้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อใช้ทดลองเป็น HUB ในการเชื่อมต่อระบบ AllStar Link โดยระบุหมายเลขโหนดด้านบนและคลิ๊กที่ Connect เพื่อเชื่อมต่อ
Connect = เชื่อมต่อเพื่อรับฟังและสามารถส่งออกไปได้ด้วย
Disconnect = ตัดการเชื่อมต่อ
Monitor = เชื่อมต่อแบบรับฟังอย่างเดียว

ภาพตัวอย่างการสั่งเชื่อมต่อไปยังโหนด 55087
ภาพตัวอย่างหลังจากคลิ๊ก Connect เพื่อเชื่อมต่อ

หลังจากคลิ๊กที่ Connect แล้วถ้าสามารถเชื่อมต่อไปยังโหนดที่ระบุได้จะมีข้อมูลของโหนดนั้น ๆ แสดงอยู่ด้านล่าง

ในส่วนของ Allmon2 ก็ทำเพียงเท่านี้ครับก็สามารถใช้งานได้แล้ว

เริ่มตั้งค่า Supermon

เปลี่ยนการทำงานไปอยู่ที่ /var/www/html/supermon โดยใช้คำสั่ง

cd /var/www/html/supermon
ภาพตัวอย่างการใช้คำสั่งเปลี่ยนการทำงานไปอยู่ที่ /var/www/html/supermon

กำหนดรหัสผ่านในไฟล์ allmon.ini.php ที่อยู่ที่ /var/www/html/supermon

sudo pico allmon.ini โดยอยู่ที่ /var/www/html/supermon หรือระบุเป็น
sudo pico /var/www/html/supermon/allmon.ini
ภาพตัวอย่างการใช้คำสั่งเพื่อกำหนดรหัสผ่านในไฟล์ allmon.ini

แก้ไขค่าในไฟล์ allmon.ini โดยไปแก้ไขข้อมูลในโหนด [1998] ให้เป็นของข้อมูลโหนดเราแทน

ภาพตัวอย่างการแก้ไขไฟล์ allmon.ini

หลังจากแก้ไขเสร็จแล้วบันทึกข้อมูลและออกจากโปรแกรม

ทำการแก้ไขข้อมูลในไฟล์ global.inc เพื่อแก้ไขการแสดงผลหน้าเว็บให้เป็นข้อมูลของเรา

ภาพตัวอย่างข้อมูลหน้าเว็บที่เราจะแก้ไข

ทำการสั่งแก้ไขไฟล์ global.inc ที่อยู่ใน /var/www/html/supermon โดยใช้คำสั่ง

sudo pico global.inc ที่ /var/www/html/supermon หรือ แก้ไขโดยตรงได้ที่
sudo pico /var/www/html/supermon/global.inc
ภาพตัวอย่างการใช้คำสั่งเพื่อแก้ไขไฟล์ global.inc

กำหนดข้อมูลต่าง ๆ ของเราที่จะแสดงผลในหน้าเว็บดังนี้
You Callsign = สัญญาณเรียกขานของผู้ใช้
Your Name = ชื่อผู้ใช้ AllStar Link
Your Location = สถานที่ใช้งาน

ภาพตัวอย่างการแก้ไขไฟล์ global.inc

หลังจากแก้ไขข้อมูลเสร็จแล้วสั่งบันทึกและออกจากโปรแกรม และทดลองโหลดหน้าเว็บ Supermon ใหม่อีกครั้ง

ภาพตัวอย่างหน้าเว็บ Supermon หลังจากการแก้ไข

จะเห็นว่าการแสดงผลในหน้าเว็บ Supermon ตอนนี้จะเปลี่ยนตามข้อมูลที่เราระบุไปในไฟล์ global.inc

ทำการกำหนดรหัสผ่านของ Server อีกครั้งด้วยคำสั่งเดียวกันกับ Allmon2 โดยจะต้องทำขณะอยู่ที่ /var/www/html/supermon/

ข้อควรระวัง!!!

การใส่ระหัสผ่านสำหรับระบบ Linux จะไม่มีข้อความหรือสัญญลักษณ์อะไรแสดงที่หน้าจอเพราะฉะนั้นเราจะต้องระมัดระวังในการใส่ให้ถูกต้อง หากใส่ผิดไม่สามารถที่จะใช้ Del หรือ Back Space ลบข้อมูลได้ ให้ใช้ Ctrl+U แล้วใส่รหัสใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น

sudo htpasswd -cB .htpasswd admin
ภาพตัวอย่างการสร้างรหัสผ่าน admin ให้กับระบบ

ทดลอง Login เพื่อเข้าใช้งาน Supermon โดยคลิ๊กที่ปุ่ม Login ด้านบนของหน้าเว็บและใช้ Username : admin / รหัสผ่านตามที่กำหนดไว้
หมายเหตุ ควรคลิ๊กที่ Login แทนการกด Enter เพื่อเข้าระบบจากการทดลองหลายครั้งปรากฏว่าถ้ากด Enter ระบบจะไม่ยอมให้ Login

ภาพตัวอย่างการ Login เพื่อเข้าระบบ Supermon

ถ้าหาก Login สำเร็จปุ่ม Login เดิมจะเปลี่ยนเป็น Logout และเราสามารถคลิ๊กที่หมายเลขโหนดเพื่อดูข้อมูลได้โดยมีสิทธิ์เป็น Admin

ภาพตัวอย่างข้อมูลของโหนด 51546 หลังจาก Login ด้วย admin

ในหน้าเว็บ Supermon นี้เราสามารถสั่งเชื่อมต่อและตัดการเชื่อมต่อไปยังโหนดต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับ Allmon2 ทำการดลองเชื่อมต่อไปยังโหนด 55087 ถ้าเชื่อมต่อสำเร็จก็จะมีข้อมูลของโหนด 55087 ที่เราไปเชื่อมต่อขึ้นมาในหน้าเว็บ

ภาพตัวอย่างแสดงข้อมูลของโหนด 55087 ที่เราเชื่อมต่อจากโหนด 51546 ไปหา

เราสามารถดูแผนผังการเชื่อมต่อของโหนดเราและโหนดต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมกันได้จากเมนู Bubble Chart

ภาพแสดงแผนผังการเชื่อมต่อจากการคลิ๊กปุ่ม Buble Chart

มาถึงจุดนี้ก็คงเห็นภาพความน่าใช้ของ AllStar Link กันแล้วนะครับ เพราะนอกจากจะสนุกการการเชื่อมต่อโหนดต่าง ๆ ผ่านทางหน้าเว็บแล้ว ยังสามารถเรียกดูแผนผังการเชื่อมต่อผ่านทางหน้าเว็บได้อีกด้วย

ในการติดตั้งใช้งาน AllStar Link ในส่วนต่าง ๆ เนื่องจากเป็นระบบ Linux และเป็นการพัฒนาจากหลาย ๆ ผู้พัฒนาการใช้คำสั่งต่าง ๆ ในบางครั้งต้องมีความเข้าใจระบบพอสมควร สำหรับเพื่อน ๆ ที่ติดปัญหาสามารถสอบถามมาที่ผม HS2BMI ได้โดยเพิ่มเพื่อนทาง LINE ID : aisfttx และฝากถึงเพื่อน ๆ ที่สนใจวิทยุสมัครเล่นในระบบดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็น DSTAR หรือ DMR สามารถเข้ากลุ่ม LINE Open Chat เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารหรือถามข้อสงสัยในการใช้งานระบบได้ครับ

QR Code LIne Open Chat XLX822

--

--