ติดตั้ง AllStar Link บน Raspberry Pi

Digital Ham Radio
6 min readJul 15, 2021

--

บทความนี้จะแนะนำวิธีการติดตั้ง Software AllStar LInk บนอุปกรณ์ Raspberry Pi โดยจะใช้ Software เวอร์ชั่น 2.0.0-beta จากเว็บไซต์ www.allstarlink.org ซึ่งถ้าปัจจุบันทีเวอร์ชั่นใหม่กว่าก็ให้ใช้เป็นเวอร์ชั่นที่ใหม่กว่านี้ก็ได้นะครับ

เริ่มทำการดาวน์โหลด Image ไฟล์

ให้เข้าที่หน้าดาวน์โหลดของ AllStarLink Wiki และให้เลือกดาวน์โหลด Image ในส่วนของอุปกรณ์ Raspberry Pi 2,3,4

ภาพตัวอย่างหน้าเว็บดาวน์โหลดใน AllStarLink Wiki

หลังจากคลิ๊กแล้วก็เลือกดาวน์โหลด Image เวอร์ชั่นที่ใหม่ที่สุด

ภาพตัวอย่างไฟล์ Image ในส่วนของหน้าดาวน์โหลด Raspberry_Pi2_3_4

จากนั้นเมื่อทำการดาวน์โหลดเสร็จแล้วก็ให้แตกไฟล์จากไฟล์ .zip ก็จะได้เป็นไฟล์ .img แล้วทำการเขียนลง MicroSD Card ด้วยโปรแกรม Win32DiskImager

ภาพตัวอย่างในโปรแกรม Win32DiskImager ที่จะทำการเขียน Image

ให้ระบุที่อยู่ของไฟล์ .img ที่แตกออกมาและเลือก Device ที่จะทำการเขียนให้ถูกต้องและคลิ๊กที่ Write เพื่อทำการเขียน Image ลงบน MicroSD Card หลังจากเขียนไฟล์เสร็จแล้วก็ให้นำ MicroSD Card ไปใส่ใน Raspberry Pi เพื่อทำการ Boot ระบบต่อไป

เริ่มเข้าระบบและตั้งค่า AllStar Link

ขั้นตอนต่อจากนี้เราจะต้องทราบหมายเลข IP Address ของอุปกรณ์ Raspberry Pi ที่อยู่ในวง LAN ของเรา เพราะเราจะเข้าทำการตั้งค่าโดยใช้โปรแกรม Putty รีโมทเข้าไปผ่านทางบริการ SSH ที่อยู่ใน Raspberry Pi ซึ่ง Putty สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ซึ่งการที่จะทราบหมายเลข IP Address ของอุปกรณ์ก็อาจจะเข้าไปดูใน Router ก็ได้หรือจะใช้ Application Fing เพื่อสแกนดูว่า Raspberry Pi ของเราได้หมายเลข IP อะไร

ภาพตัวอย่างการแสกนหา IP โดยใช้ Fing

จากภาพตัวอย่าง Raspberry Pi ตัวที่ผมใช้ได้หมายเลข IP 192.168.77.92 ผมก็นำหมายเลข IP นี้ไปใส่ใน Putty เพื่อรีโมทเข้าไป โดยระบุ Port = 22 ซึ่งเป็นหมายเลข Port ปกติของบริการ SSH (Secure Shell Protocol) แล้วคลิ๊ก Open

ภาพตัวอย่างการตั้งค่า Putty เพื่อเชื่อมต่อ Raspberry Pi ผ่านทาง SSH

ระบบจะมีการแจ้งเตือนความปลอดภัยในการการเชื่อมต่อให้ตอบ Yes

ภาพตัวอย่างการแจ้งเตือนความปลอดภัยในการเชื่อมต่อ

ระบุชื่อผู้ใช้ในการเชื่อมต่อคือ repeater และรหัสผ่านเริ่มต้นคือ allstarlink

ข้อควรระวัง!!!

การใส่ระหัสผ่านสำหรับระบบ Linux จะไม่มีข้อความหรือสัญญลักษณ์อะไรแสดงที่หน้าจอเพราะฉะนั้นเราจะต้องระมัดระวังในการใส่ให้ถูกต้อง หากใส่ผิดไม่สามารถที่จะใช้ Del หรือ Back Space ลบข้อมูลได้ ให้ใช้ Ctrl+U แล้วใส่รหัสใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น

ภาพภายหลังจากทำการเชื่อมต่อสำเร็จ

สึ่งที่เราจะต้องทราบในการตั้งค่าก็คือหมายเลขโหนดและรหัสผ่านของโหนดที่จะตั้งค่าซึ่งดูได้จากเมนู Portal -> Node Setting ซึ่งต้องทำการ Login เข้าระบบก่อนจึงจะสามารถดูได้

ภาพตัวอย่างเมนู Portal -> Node Setting

ให้เลื่อน Mouse ไปวางตรงช่อง Password ของโหนดก็จะมีรหัสผ่านแสดงขึ้นมา

ภาพตัวอย่างการเข้าดูรหัสผ่านของแต่ละโหนด

สมมุติผมจะตั้งค่าของโหนด 51546 และมีรหัสผ่านเป็น 123456789

เข้าเมนูตั้งค่าของ AllStar Link โดยพิมพ์ asl-menu ที่บรรทัดคำสั่งแล้วกด Enter

ภาพตัวอย่างการพิมพ์คำสั่ง asl-menu ที่บรรทัดคำสั่ง

จากนั้นระบบจะเข้าสู่เมนูหลัก ASL Main Menu
เริ่มตั้งค่าจะเมนูที่ 1 Run first-time menu

ภาพตัวอย่างหน้าจอ ASL Main Menu

หน้าจอแรกจะถามว่าจะเปลี่ยนรหัสผ่านของ repeater หรือไม่ ผมเลือก No แต่ถ้าใครจะเปลี่ยนรหัสผ่านของผู้ใช้ repeater ก็สามารถทำได้จากเมนูนี้

ภาพหน้าจอคำถามในการเปลี่ยนรหัสผ่าน

ต่อไปก็จะเป็นการให้ตั้งค่าโซนของเวลาก็กด Ok

ภาพหน้าจอแจ้งให้ตั้งค่าโซนเวลา

เลือก Asia กดปุ่ม Tab แล้วเลือก Ok แล้ว Enter

ภาพตัวอย่างการตั้งค่าโซนเวลา

เลือก Bangkok แล้วกดปุ่ม Tab แล้วเลือก Ok ตามด้วย Enter

ภาพตัวอย่างการตั้งค่าโซนเวลา

หน้าจอต่อไปเป็นการแจ้งว่าปกติแล้วชื่ออุปกรณ์จะตั้งชื่อว่า repeater กด Enter เพื่อไปต่อ

ภาพตัวอย่างข้อความแจ้งชื่ออุปกรณ์

หน้าต่อไปเป็นการตั้งค่าระบบเครือข่าย ซึ่งผมยังไม่ตั้งค่าตอนนี้ เลือก No แล้ว Enter

ภาพตัวอย่างการปฏิเสธการตั้งค่าระบบเครือข่าย

หน้าต่อไปเป็นข้อความแจ้งเรื่องการตั้งค่าเพิ่มเติมของระบบเครือข่ายให้กด Enter

ภาพหน้าจอข้อความแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการตั้งค่าเครือข่าย

ต่อไปเป็นการถามว่าต้องการกำหนดการรับ IP อัตโนมัติหรือแบบตั้งค่าเอง ซึ่งผมยังไม่กำหนดตอนนี้ ให้เลือก No แล้ว Enter

ภาพตัวอย่างคำถามในการกำหนดการรับ IP

หน้าจอต่อไปเป็นข้อความแจ้งว่าขณะนี้เราสามารถตั้งค่าโหนดของเราได้แล้วให้กด Enter เพื่อเข้าสู่เมนูตั้งค่าโหนด

ภาพตัวอย่างหน้าจอแจ้งว่าสามารถเริ่มตั้งค่าโหนดได้แล้ว

เริ่มตั้งค่าโหนดโดยเลือกเมนู A1 Initial Node Setup ซึ่งเป็นการกำหนดหมายเลขโหนด, รหัสผ่าน และสัญญาณเรียกขานของโหนด แล้ว Enter ที่ Select

ภาพหน้าจอเมนูตั้งค่าโหนด

เลือก N1 ตั้งค่าหมายเลขโหนด กด Tab แล้ว Enter ที่ Select

ภาพตัวอย่างเมนูตั้งค่าหมายเลขโหนด

ระบูหมายเลขโหนดของเราแล้วกดปุ่ม Tab แล้ว Enter ที่ Ok

ภาพตัวอย่างการระบุหมายเลขโหนด

เลือกเมนู N2 เพื่อระบุรหัสผ่านของโหนด กด Tab แล้ว Enter ที่ Select

ภาพตัวอย่างเลือกเมนู N2 Node Password

ใส่รหัสผ่านของโหนด แล้วกดปุ่ม Tab เพื่อ Enter ที่ Ok

ภาพตัวอย่างระบุรหัสผ่านของโหนด

เลือกเมนู N3 เพื่อกำหนดสัญญาณเรียกขานของโหนด กด Tab แล้ว Enter ที่ Select

ภาพตัวอย่างเลือกเมนู N3 Node Call Sign

ระบุสัญญาณเรียกขานแล้วกด Tab เพื่อ Enter ที่ Ok

ภาพตัวอย่างการระบุสัญญาณเรียกขานของโหนด

เลือกเมนู N4 เพื่อกำหนด Interface ที่ใช้กับเครื่องวิทยุสื่อสาร

ภาพตัวอย่างเลือกเมนู N4 Radio Interface

ในการตั้งค่าตามบทความนี้ผมจะใช้ Interface ที่ชื่อว่า RIM-Alinco ที่ใช้กับเครื่องวิทยุสื่อสาร Alinco DR-135EZ-1 ซึ่งผู้ผลิตให้ระบุค่าเป็น SimpleUSB

ภาพอุปกรณ์ Interface RIM-Alinco และ RIM แบบอื่น ๆ

เลือกเมนู I1 แล้วกด Tab เพื่อ Enter ที่ Select

ภาพตัวอย่างเมนู I1 SimpleUSB

ระบบจะแจ้งว่าได้เปิดการใช้งาน SimpleUSB Drivers แล้ว กด Enter เพื่อไปต่อ

ภาพหน้าจอข้อความแจ้ง Enable SimpleUSB

เราจะตั้งค่าโหนดกันเพียงเท่านี้ก่อน ทำการบันทึกการตั้งค่าโดยเลือกเมนู N9 Save

ภาพตัวอย่างหน้าจอ N9 Save

หลังจากเลือก N9 Save แล้วระบบจะแสดงข้อความถึงการตั้งค่าต่าง ๆ ให้กดปุ่ม Enter รับทราบไปเรื่อย ๆ

ข้อความแจ้งตั้งค่า rxchannel
ข้อความแจ้งตั้งค่าใน iax.conf
ข้อความแจ้งตั้งค่าสัญญาณเรียกขานใน rpt.conf
ข้อความตั้งค่าใน extensions.conf
ข้อความตั้งค่า duplex ใน rpt.conf
ข้อความแจ้งให้บันทึกข้อมูลอีกครั้งที่ Main Menu

กลับเมนูหลักโดยกด Tab แล้ว Enter ที่ Back

เลือกเมนู Back เพื่อกลับเมนูหลัก

ที่เมนูหลักเลือกเมนู AZ แล้ว Enter หรือกด Tab เพื่อ Select แล้ว Enter

ภาพหน้าจอเมนูหลักที่จะบันทึกการตั้งค่าทั้งหมด

หลังจาก Enter เพื่อ Save แล้วระบบจะแสดงข้อมูลการตั้งค่าอีกครั้งให้กด Enter

ภาพหน้าจอให้ดูรายละเอียดการตั้งค่า

ข้อความสอบถามให้สำรองข้อมูลเดิมให้เลือก Yes แล้ว Enter

ภาพหน้าจอสอบถามการสำรองข้อมูล

ข้อความแจ้งที่อยู่ของไฟล์ที่สำรองข้อมูลกด Enter ต่อไป

ภาพข้อความแจ้งที่อยู่ของไฟล์สำรองข้อมูล
ภาพข้อความแจ้งบันทึกการตั้งค่าใหม่
ภาพข้อความแจ้งเริ่มระบบของ Asterisk ใหม่

ออกจากเมนูหลักโดยกด Tab เลือก Exit แล้วกด Enter

ตัวอย่างภาพเลือก Exit เพื่อออกจากเมนู

ยืนยันการออกจากเมนูโดยตอบ Yes

ภาพตัวอย่างหน้าจอยืนยันการออกจากเมนู

ข้อความสอบถามให้เริ่ม asl-menu หลังจากเริ่มระบบหรือไม่ เลือก No แล้ว Enter

ภาพตัวอย่างหน้าจอสอบถามการเปิดเมนู asl-menu ตอนเริ่มระบบ

ข้อความแจ้งว่ายกเลิกการเริ่มต้น asl-menu ตอนเริ่มระบบ แต่สามารถเรียกใช้งาน
asl-menu ได้ที่ /usr/sbin/asl-menu

ภาพตัวอย่างข้อความแจ้งการยกเลิก asl-menu

ขั้นตอนสุดท้ายระบบจะ reboot Raspberry Pi เพื่อเริ่มการใช้งาน ให้กด Enter เพื่อ reboot ระบบ

ภาพขั้นตอนสุดท้ายของการตั้งค่า

ระบบจะแจ้งยุติการเชื่อมต่อให้ปิดโปรแกรม Putty ไปได้เลย

ภาพหน้าจอแสดงข้อความหยุดการเชื่อมต่อจากระบบ

เมื่อ Raspberry Pi เริ่มทำงานใหม่แล้ว ใช้เวลาไม่นานเราก็จะเห็นหมายเลขโหนด เราออนไลน์ในหน้าเว็บของ AllStar Link โดยดูได้จากในหน้าเว็บของ AllStar Link ที่เมนู Lists & Stats -> AllStar Node List กำหนดค่า Filter ให้เป็นสัญญาณเรียกขาน
ที่ลงทะเบียนโหนดไว้ จะเห็นว่ามีแถบเขียวล้อมรอบหมายเลขโหนดแสดงว่าโหนดนี้เปิดออนไลน์ในระบบ ซึ่งสามารถคลิ๊กที่หมายเลขโหนดเพื่อดูข้อมูลประกอบได้อีกด้วย

ข้อควรระวัง!!! ย้ำนะครับว่าถึงขั้นตอนนี้ หลังจาก Reboot ระบบแล้วไม่เกิน 5 นาทีโหนดจะต้องออนไลน์เป็นแถบสีเขียวด้านใต้ของหมายเลขโหนด ถ้าไม่มีสีเขียวตามตัวอย่างภาพด้านล่างแสดงว่าอาจจะระบุรหัสผ่านของโหนดไม่ตรงกับที่กำหนดในระบบของ AllStar Link ตรวจสอบให้มั่นใจว่ากำหนดค่ารหัสผ่านของโหนดจากเมนู asl-menu กับในระบบของ AllStar Link ตรงกันแล้ว

ภาพตัวอย่างหน้าเว็บ AllStar Node List
ภาพตัวอย่างข้อมูลการเชื่อมต่อของโหนด 51546

มาถึงตรงนี้ AllStar โหนดของเราก็สามารถใช้งานได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการตั้งค่าเพื่อใช้กับ Radio Interface เพื่อเชื่อมต่อกับวิทยุสื่อสารและการตั้งค่าหน้าเว็บสำหรับดูข้อมูลภายใน หรือสั่งเชื่อมต่อ/ตัดการเชื่อมต่อของโหนด

สำหรับท่านที่มีข้อมูลหรือทำตามบทความแล้วติดปัญหาสามารถสอบถามเข้ามาที่ผมโดยตรงได้ HS2BMI ได้เลยผ่านทาง LINE ID : aisfttx และสำหรับท่านที่มีความสนใจวิทยุสื่อสารในระบบดิจิตอลสามารถเข้าร่วม Openchat ของระบบดิจิตอลได้โดยผ่านทาง QR Code ด้านล่างครับ

LINE Open Chat XLX822

--

--